วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

สอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาค วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ เวลา 10.00 - 11.00 น.
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องศึกษาในเรื่องใดบ้าง ?
- ความรู้พื้นฐานและความสนใจที่มีต่อเรียนรู้ทางภาษา
การจัดสภาพแวดล้อมต่อห้องเรียน
รูปแบบของการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับทักษะ การฟัง การอ่าน การพูด การเขียน
การจัดกิจกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมแลพัฒนาการทางด้านภาษา
2. การจัดประสบการณืทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร ?
- เพื่อให้เด็กได้มีทักษะในการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง
เกิดความรู้และความเข้าใจถึงภาษาและความหมายของภาษาได้อย่างถูกต้อง
เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาการใช้ภาษาของเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง ?
-การจัดสภพาแวดล้อมและบรรยากาศในห้องเรียน
คำนึงถึงตัวของเด็ก.
ความสนใจและความต้องการของเด็ก
พัฒนาการที่เด้กจะได้รับ
4.ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไรบ้าง ?
-พ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและมีความสำคัญในการช่วยพัฒนาทางด้านภาษาของเด็ก
การที่จะช่วยพัฒนาการของเด้กโดยผู้ปกครองทำได้โดยง่ายๆและเป็นวิธีที่ใกล้ตัวเด็ก
1. การร่วมทำกิจกรรมในครอบครัว เช่นการเล่นเกม การร้องเพลงคาราโอเกะ
2.การเล่านิทาน การอ่านหนังสือ
3.ฟังเพลง
ที่สำคัญคือ การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านและการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
ให้เป็นไปอย่างไม่ตึงเครียดมากเกินไป ไม่ควรบังคับให้เด้กทำกิจกรรม
นอกจากนี้ยังหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย
5. ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบมากที่สุด พร้อมให้เหตุผล
( ชื่อ ,วัตถุประสงค์, กิจกรรม ,ประเมินผล)
ชื่อ : เล่านิทาน (อัดเสียง)
วัตถุประสงค์ :
1.พัฒนาการทางด้านภาษา
2.เพื่อให้เกิดความคิดและจินตนาการ
3.ฝึกการเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มเล็ก และใหญ่
4.ให้เกิดทักษะทางด้านการฟังและการพูด
กิจกรรม:
อัดเสียงนิทานให้เด็กฟัง นิทานเรื่อง กุ๊กไก่ปวดท้อง
ใช้เวลาในการเล่า 15-20 นาที โดยมีการร่วมกันถาม- ตอบ
ว่าในเรื่องมีตัวละครอะไรบ้าง ตัวละครทำอะไร ได้คติอะไรจากการฟังเรื่องนี้
ประเมินผล :
1. สังเกตการฟังนิทาน
2.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม การตอบคำถาม
3. การเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
4.สังเกตการมีสมาธิ และการให้ความคิดและจินตนาการ
สาเหตุที่เลือกกิจกรรมนี้ เนื่องจากการเน้นพัฒนาการทางด้านการฟังถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ
ต่อการพัฒนาการทางด้านภาษา สามารถพัฒนาการเชื่องโยงไปยัง
พัฒนาการทางการฟัง การพุด การอ่าน การเขียน ได้อีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

นิทานเรื่อง แม่ไก่สีแดง


กาลครั้งหนึ่งมีแม่ไก่สีแดงตัวน้อยตัวหนึ่ง

ผู้ซึ่งคุ้ยเขี่ยอยู่ในลานข้าวจนกระทั่งเจอเมล็ดข้าวสาลี

มันร้องเรียกสัตว์ตัวอื่นๆ มาและพูดว่า “ถ้าเราปลูกเมล็ดข้าวสาลีนี้

ราก็จะมีขนมปังไว้กินกัน ใครจะช่วยฉันปลูกมันบ้าง”


“ฉันไม่” วัวตอบ
“ฉันไม่” เป็ดตอบ
“ฉันไม่” หมูตอบ
“ฉันไม่” ห่านตอบ

“ฉันจะทำ” แม่ไก่สีแดงตัวน้อยพูดขึ้นมา และมันก็ได้ลงมือปลูกข้าวสาลีนั้น

ต้นข้าวได้เจริญงอกงาม และออกรวงสีเหลือทองอร่าม

“มีใครจะช่วยฉันเกี่ยวข้าวบ้างไหม” แม่ไก่ร้องถาม



“ฉันไม่” เป็ดพูด
“นั่นไม่ใช่งานสำหรับคนระดับฉัน” หมูพูด
“นั่นจะทำให้ฉันเสียเกียรติ” วัวตอบ
“มีค่าเหนื่อยให้ฉันไหม” ห่านถาม


“ฉันจะทำเอง” แม่ไก่สีแดงตัวน้อยพูดขึ้นมา และมันก็ลงมือเกี่ยวข้าว
สุดท้ายก็มาถึงเวลาในการอบ
ขนมปัง “ใครจะช่วยฉันอบขนมปังบ้าง”
แม่ไก่สีแดงตัวน้อยถามขึ้นมา
“ถ้าช่วย ก็ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาของฉันนะ” วัวพูด
“มีสวัสดิการหรือผลประโยชน์ให้กับฉันไหมล่ะ” เป็ดถาม
“หากฉันเป็นคนเดียวที่ช่วยเหลือเธอ ฉันก็เป็นแกะดำซิ” ห่านพูด


“ฉันจะทำ” แม่ไก่สีแดงตัวน้อยบอก แล้วมันก็อบขนมปังได้ 5 แถว
แล้วนำไปอวดสัตว์ อื่นๆ ซึ่งพวกมันต่างก็อยากกินขนมปังนั้นด้วยกันทุกตัว
แท้จริงแล้วพวกมันต่างก็ต้องการส่วนแบ่ง แต่แม่ไก่สีแดงตัวน้อยตอบว่า


“ไม่ ฉันคนเดียวก็สามารถกินขนมปัง 5 แถวนี้ได้หมด”
“ค้ากำไรเกินควร” วัวตะโกนออกมา
“นายทุนหน้าเลือด” เป็ดร้องลั่น
“ฉันต้องการสิทธิที่เท่าเทียมกัน” ห่านโวยวายขึ้นมา
ส่วนหมูทำเสียงฟืดฟาดไม่พอใจ
แล้วทุกตัวต่างก็พากันทำป้ายและเดินประท้วงไปรอบๆ ลานข้าว
พร้อมกับตะโกนด่าว่าแม่ไก่สีแดงตัวน้อยอย่างหยาบคาย


เจ้าหน้าที่รัฐได้มาถึงและได้บอกแก่แม่ไก่สีแดงตัวน้อยว่า “คุณต้องไม่โลภจนเกินไป”
“แต่ฉันหาขนมปังมาได้ด้วยตัวเองนะ”
“แน่นอน” เจ้าหน้าที่ตอบ “นั่นคือการได้มาแบบฟรีๆ
ใครก็ตามที่อยู่ในลานข้าวสามารถหากินได้มากเท่าที่ต้องการ
แต่ภายใต้ข้อบังคับของรัฐผู้ที่ทำงานแล้วมีผลผลิตต้องแบ่งปันผลผลิตส่วนเกินให้แก่ผู้อื่น”
แล้วทุกคนต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตลอดไป
แต่พวกสัตว์ ตัวอื่นๆ ก็รู้สึกประหลาดใจที่แม่ไก่สีแดงตัวน้อยไม่เคยทำขนมปังอีกเลย


“ไม่มีรางวัล สำหรับคนขี้เกียจ”


อาจารย์ให้เล่านิทานเรื่องแม่ไก่สีแดงคนละบรรทัด

แล้วสรุปคติที่ได้จากนิทานเรื่องนี้

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553
ส่งนิทานเรื่อง ลูกไก่ตามหาแม่
จัดทำโดย นางสาวศุภาพร เครือสายใจ 5111207865
นางสาวจันทร์จีรา ภักดิ์เจริญ 5111207873



บันทึกครั้งที่10

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553
อาจารย์สรุปเนื้อหาที่รายงานของแต่ละกลุ่ม
ในเรื่องที่ลงไปทำกิจกรรมในสาธิตหมาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
แล้วสั่งงานใหม่ ให้ไปอ่านนิทานเรื่องแม่ไก่สีแดง
แล้วทำ MindMapper ให้สอดคล้องกับนิทานที่หามา
ทำเป็นงานคู่ ส่ง

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 9

วันที่ 22 มกราคม 2553

ส่งงานหนังสือนิทาน อะไรเอ่ย? ให้อาจารย์ตรวจดูรอบแรก

สั่งงานทำ powerpoint

เกี่ยวกับการลงโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชถัฎจันทรเกษม

ว่าแต่ละกลุ่มได้อะไรแล้วเมื่อลงแล้วจัดกิจกรรมอะไร


กลุ่ม 4 การเล่านิทานโดยการอัดเสียง

อัดเสียงเล่านิทานให้น้องฟัง ได้ชั้นอนุบาล1/1

นิทานเรื่องกุ๊กไก่ปวดท้อง

บันทึกครั้งที่ 8

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
ศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลสามเสน
ดูกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะของเด็กอนุบาล 1 ห้องครูไก่

ในอาทิตย์นั่นห้องอนุบาล 1/1 มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับหน่วย ขนมไทย
มีการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ การทำกิจกรรมจะแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม
คือเด็กหญิงและเด็กชาย เพื่อง่ายในการทำกิจกรรม
มีการนำเอาอุปกรณ์เข้ามาร่วมในการทำกิจกรรม คือ ห่วงหวายเล่นโดยการใช้คำสั่ง
และกติกาเพื่อให้เด็กได้คิดและวิเคราะห์ตามคำสั่ง ต่อจากนั่นเป็นกิจกรรมศิลปะ
มีการทำขนมไทยคือ ขนมเปียกปูน
โดยใช้วัสดุอุปกรณ์คือ แผ่นโฟม ขนาดสี่เหลี่ยมเล็ก กระดาษทิชชู ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ
แล้วใช้สีดำเพื่อให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง

ได้ประสบการณ์ในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ได้ทักษะในการจัดกิจกรรมศิลปะ
เทคนิคในการสอน เทคนิคในการเก็บเด้กและใช้กติกาคำสั่งสำหรับเด็ก
กิจกรรมดังกล่าวสามารถพัฒนาเด็กได้ทั้ง 4 ด้าน
ทั้งนี้ขอขอบพระคุณคณะอาจารย์ที่มานิเทศของโรงเรียนอนุบาลสามเสน
และครูประจำชั้นที่ตอบคำถามส่วนที่สงสัยในการจัดกิจกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2553

วันนี้อาจารย์สอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว เป็นเรื่องของการสั่งงานนอกเวลาเรียน
ให้นักศึกษาจับกลุ่มกลุ่มละ4คน แบ่งเป็น6กลุ่ม
เล่านิทาน และถามคำถามเด็กพร้อมทั้งทำการบันทึกถ่ายรุปเก็บไว้

บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้บรรยากาศในห้องเรียนค่อนข้างเงียบ
เนื่องจากเพื่อนๆส่วนใหญ่ขออนุญาตอาจารย์ไปทำงานเกี่ยวกับวิชามนุษย์และ
สิ่งแวดล้อมที่ต่างจังหวัดและมีความรู้สึกว่าข้างนอกวันนี้ฝนตกอากาศวันนี้ค่อนข้างสบาย

สั่งงานทำสมุดนิทาน แบบถามตอบ

บันทึกครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ 2553

อาจารย์สั่งงานว่าจะให้นักศึกษาจับกลุ่มวันละ4คน
ไปเล่านิทานตอนเช้าให้เด็กฟังที่สาธิตอนุบาลจันทรเกษม
ให้วางแผน จดบันทึก และถ่ายรูป (บันทึกลงบล็อก)
รายละเอียดต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมควรที่จะเลือกเรื่องแบบไหนเล่าเรื่องอะไร
หน่วยที่จะเล่า เป็นต้น เช่น การเล่านิทาน ว่าแต่ละระดับชั้นมีจุดเด่นที่จะเล่าให้เด็กฟังอย่างไรบ้าง
การอัดเสียงเด็กเมื่อกาอุปกรณ์ ที่เห็นชัดเจนให้เด็กตอบ

บันทึกครั้งที่ 5




วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ 2552


วันนี้นำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว
กลุ่มที่4 การสอนภาษาแบบองค์รวม
การสอนภาษาแบบองค์รวม เป็นปรัชญาแนวคิดความเชื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นการสอนที่เน้นพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน สิ่งสำคัญในการสอนภาษาแบบองค์รวมคือต้องพัฒนาให้เข้ากับผู้เรียนเป็นสำคัญ
กลุ่มที่5 การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ควรคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในการจัดควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จัดให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ทางภาษาหลักการจัดประสบการณ์ เป็นวิธีที่เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้เด็กลงมือกระทำ ทางด้านจิตวิทยาเป็นการทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง คือการได้ทดลองปฏิบัติ ต้องเป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ
มีอิสระ สนุกสนาน ไม่มีกรอบ เป้นการจัดบนพื้นฐานความสนุกสนาน ไม่มีขอบเขตบังคับ

บันทึกครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ 2552


อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน
กลุ่ม1 ความหมายของภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มี2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษาวัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ การพูด ส่วนอวัจนภาษาเป็นภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ นอกเหนือการใช้คำพูด ในการจัดประสบการณ์ทางภาษา เป็นเครื่องมือของการคิด การแสดงออกถึงความต้องการให้สื่อถึงความเข้าใจกัน
กลุ่ม2 ทฤษฏีทางสติปัญญาเพียเจต์
กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเรียนรู้ผ่านระบบประสาท การขยายโครงสร้าง การปรับเข้าสู้โครงสร้างบรูเนอร์ แบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ขั้น คือ ขั้นการเรียนรู้การกระทำขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์การเรียนรู้จะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
กลุ่ม3 จิตวิทยาการเรียนรู้การเรียนรู้
เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย ๒. ด้านเจตพิสัย ๓. ด้านทักษะพิสัย
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้๑. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
๒. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ๓. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมา๔. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคล
กลุ่ม4 การสอนภาษาแบบองค์รวม
เป็นการสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ เน้นการการนำรวมวรรณกรรมต่างๆที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ที่หลาหหลาย หลักการสอนให้เด็กเห็นภาพจริงและของจริง

นิทานอะไรเอ่ย?

รายงานการจัดกิจกรรม

อนุบาลสามเสน