วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แบบบันทึกการเรียนครั้งที่ 2

ศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พใศ.2552
กลุ่มที่1 ความหมายของภาษา
ความหมายของภาษา
คำว่า “ ภาษา” หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ
คำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ วัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้คำพูด
ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ อวัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร
ความสำคัญของภาษา
· ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจ
· ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน
· ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์
· ภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
· ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา
การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กด้านภาษาจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม เนื่องจากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการในการเรียนภาษาของเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กต้อง สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพ
ซึ่งส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น

การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
การประเมินพัฒนาการทางภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านภาษา
เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ แนวทางการประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง
1. ใช้เครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
2. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
3. การประเมินถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์
4. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก เพื่อเป็นการประเมินความก้าวหน้าของเด็ก ไม่ควรมุ่งสังเกตสิ่งที่เด็กยังไม่สามารถทำได้
5. ให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลผลิต
6. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ตรงตามสภาพจริงของเด็ก
8. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง การที่เด็กมีส่วนร่วมในการติดตามความก้าวหน้าของตนเอง
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง
“ภาษาถิ่น” เป็นภาษาย่อย (Variety of Speech) มีความแตกต่างทางด้านเสียง คำศัพท์ และไวยากรณ์จากภาษาย่อยที่พูดในบริเวณอื่นในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมีความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับเด็ก การเด็กจะอยู่ในบริบทของสังคมสองภาษา 13/11/09

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แบบบันทึกการเรียนครั้งที่ 1

การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ทางภาษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเข้าใจที่เด็กปฐมวัยควรรู้และ

สามารถพัฒนาทางภาษาของตามพัฒนาการตามขั้นและวัยให้เกิดทักษะและเชี่ยวชาญ เช่น

การพูด การฟัง อ่าน เขียน และภาษาในการใช้เล่านิทาน เป็นต้น


บรรยากาศในการเรียน
สบายๆ ไม่เคร่งเครียด อากาสเย็นสบาย

มีแสงสว่างน้อยเกินไปกับการใช้สายตาหน้าจอคอมพิวเตอร์

อาจารย์เป็นกันเองทักทายอย่างเป็นธรรมชาติ


สรุปใจความสำคัญการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก
คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางภาษา

เพื่อให้สอดคล้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5

ให้เกิดประสบการณ์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

นิทานอะไรเอ่ย?

รายงานการจัดกิจกรรม

อนุบาลสามเสน